รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาสมบูรณ์สงฆ์ในแขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

พระไชยะพอน ศรีปัญญา, พูนชัย ยาวิราช, สุวดี อุปปินใจ, ประเวศ เวชชะ

Abstract



          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็น สร้าง พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการและเพื่อประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาสมบูรณ์สงฆ์ในแขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารการศึกษา จำนวน 13 ราย และครู พนักงาน จำนวน 54 ราย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
          ผลการวิจัยพบว่า ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาสมบูรณ์สงฆ์ในแขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว จำแนกออกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านวิชาการ ได้แก่ การจัดการองค์การ พบว่า มีการจัดโครงสร้างบริหารโรงเรียนเพื่อเป็นแนวทางของการบริหารงานวิชาการ อยู่ในระดับมาก (X bar = 4.38) สภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมาก (X bar = 4.74)  ด้านบริหาร ได้แก่ การการควบคุม พบว่า การติดตามวัดผลประเมินผล ผู้บริหาร ครู ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามที่วางไว้อย่างเคร่งครัด อยู่ในระดับมาก (X bar = 4.25) สภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด (X bar = 4.77) ด้านการคุ้มครองนักเรียน ได้แก่ การวางแผน พบว่า การกำหนดขั้นตอนวิธีการในการปฏิบัติงานของผู้บริหาร ครู มีการปรับตัว มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวปรับเปลี่ยนความคิดวิธีการ ในการพัฒนาคุณภาพโรงเรียน อยู่ในระดับมาก (X bar = 4.30) สภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด (X bar = 4.68) ด้านงานด้านสถิติ-ข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยี ได้แก่ การจัดการองค์การ พบว่า มีการจัดโครงสร้างภารกิจงานในการดูแลนักเรียนนำใช้ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องทดลอง เกี่ยวกับการเรียน-การสอนให้ได้มาตรฐาน และรายละเอียดการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมากที่สุด (X bar = 3.77) สภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมาก (X bar = 4.38) ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาสมบูรณ์สงฆ์ในแขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว ที่ผ่านการสังเคราะห์ข้อมูลจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 9 ท่าน มีองค์ประกอบสำคัญ 4 องค์ประกอบ ซึ่งในนี้ใช้กระบวนการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม P-PODC ดังนี้  การมีส่วนร่วมในการวางแผน (P: Planning) การมีส่วนร่วมในการจัดองค์การ (O: Organizing) การมีส่วนร่วมในการอำนวยการ (D: Directing) และการมีส่วนร่วมในการควบคุม (C: Controlling) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาสมบูรณ์สงฆ์ในแขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว ความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Keywords


รูปแบบการบริหารจัดการ, พัฒนาคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาสมบูรณ์สงฆ์, แขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ISSN 2985-2757 (Print)

ISSN 2985-2765 (Online)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฟอร์มของวารสารฯ
     1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
     2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
     3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
     4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7    

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | Lampang Rajabhat University | 南邦皇家大學

- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ