ข้อบกพร่องเชิงวัจนปฏิบัติศาสตร์ในการสื่อสารภาษาไทยของนักศึกษาชาวจีน

นิตยา มูลปินใจ

Abstract



          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อศึกษาสาเหตุข้อบกพร่องในการสื่อสารภาษาไทยของนักศึกษาชาวจีน และเพื่อศึกษาแนวทางในการแก้ไขข้อบกพร่องในการสื่อสารของนักศึกษาชาวจีน ชั้นปีที่ 3 จำนวน 40 คน ผู้วิจัยใช้การเก็บข้อมูลด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและจดบันทึกข้อบกพร่องในการสื่อสารจากสถานการณ์จริงระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ผู้สอนชาวไทย ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน โดยผู้วิจัยได้ใช้แนวคิดเกี่ยวกับข้อบกพร่องเชิงวัจนปฏิบัติศาสตร์ เรื่องข้อบกพร่องเชิงวัจนปฏิบัติ (Pragmatic Failure) ของ Thomas และแนวคิดเรื่องจุดมุ่งหมายวัจนกรรมของ Searle
          ผลการวิจัยพบว่า ข้อบกพร่องในการสื่อสารภาษาไทยของนักศึกษาชาวจีน ระหว่างนักศึกษาชาวจีนกับอาจารย์ผู้สอนภาษาไทย นักศึกษาชาวจีนกับเพื่อนนักศึกษาชาวจีน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) ข้อบกพร่องด้านการใช้ภาษาไทย 2) ข้อบกพร่องด้านการสื่อเจตนา 3) ข้อบกพร่องด้านการตีความเจตนา โดยสามารถจำแนกข้อบกพร่องด้านการใช้ภาษาไทยออกเป็น 3 ประเด็น คือ การใช้คำผิดความหมาย การออกเสียงผิด และการสลับที่คำหรือการเรียบเรียงประโยคผิด ข้อบกพร่องด้านการสื่อความเจตนา แบ่งออกเป็น 2 ประเด็น คือ การสื่อเจตนาผิดแบบข้ามจุดมุ่งหมายวัจนกรรม และการสื่อเจตนาผิดแบบไม่ข้ามจุดมุ่งหมายวัจนกรรม ข้อบกพร่องด้านการตีความเจตนา แบ่งเป็น 2 ประเด็น คือ การตีความเจตนาผิดแบบไม่ข้ามจุดมุ่งหมายวัจนกรรม และการตีความเจตนาผิดแบบข้ามจุดมุ่งหมายวัจนกรรม ผลการศึกษาแสดงให้เห็นสาเหตุที่ทำให้เกิดข้อบกพร่องเชิงวัจนปฏิบัติศาสตร์ในการสื่อสารภาษาไทยของนักศึกษาชาวจีน เนื่องมาจากการถ่ายโอนทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
          อนึ่ง แนวทางในการแก้ไขข้อบกพร่องเชิงวัจนปฏิบัติศาสตร์ในการสื่อสารภาษาไทยของนักศึกษาชาวจีน ควรมีการแนะนำหลักการสื่อสารภาษาไทยในบริบทสังคมและวัฒนธรรมไทย ควบคู่ไปกับเรียนภาษาไทยเพื่อพัฒนาทักษะทางการสื่อสารภาษาไทยให้ถูกต้อง ซึ่งจะส่งผลให้นักศึกษาชาวจีนได้เลือกใช้รูปแบบการสื่อสารเพื่อสื่อเจตนาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม

Keywords


ข้อบกพร่องเชิงวัจนปฏิบัติศาสตร์; นักศึกษาชาวจีน; การสื่อสาร

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ISSN 2985-2757 (Print)

ISSN 2985-2765 (Online)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฟอร์มของวารสารฯ
     1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
     2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
     3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
     4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7    

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | Lampang Rajabhat University | 南邦皇家大學

- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ