ความท้าทายในการเตรียมความพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุของกลุ่ม Gen X ในอำเภอเมืองจังหวัดตรัง

กรรณญารัตน์ ทหารไทย, จรรยพร แซ่ทั่ง, ชลดา ทองเนื้อขาว, ปูชนีย์ กาดีโลน, สันติภาพ ลักติธรรม, ฮาซันอักริม ดงนะเด็ง, วิสุทธิณี ธานีรัตนุ์

Abstract


การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของกลุ่ม Gen X ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดตรัง และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของกลุ่ม Gen X ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดตรัง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 396 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้การทดสอบแบบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนจำแนกทางเดียว (One- way ANOVA)

ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุของกลุ่ม Gen X ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดตรัง อยู่ในระดับปานกลาง ( =3.28, S.D. 0.83) โดยการเตรียมความพร้อมด้านร่างกายและจิตใจ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านที่อยู่อาศัย ตามลำดับ 2) ผลของการเปรียบเทียบการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของกลุ่ม Gen X ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดตรัง พบว่า เมื่อจำแนกตามที่อยู่อาศัย สถานที่ตั้งของที่อยู่อาศัย อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ สถานภาพสมรส รายได้ ความเพียงพอของรายได้ และการตรวจสุขภาพประจำปีของกลุ่ม Gen X จะมีการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.05

Keywords


ความท้าทาย, การเตรียมความพร้อม, Gen X, สังคมผู้สูงอายุ

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ISSN 2985-2757 (Print)

ISSN 2985-2765 (Online)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฟอร์มของวารสารฯ
     1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
     2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
     3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
     4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7    

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | Lampang Rajabhat University | 南邦皇家大學

- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ