การเลือกตั้งกับความเป็นประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560

ณัฐพงษ์ คันธรส

Abstract


บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งวิเคราะห์การเลือกตั้งกับความเป็นประชาธิปไตยว่ามีความสัมพันธ์กันในฐานะที่ระบอบประชาธิปไตยเป็นรูปแบบการปกครองที่อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน และการเลือกตั้งเป็นกลไกในการแสดงเจตนารมณ์ของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยแบบผู้แทนนอกจากนี้ผู้เขียนยังอาศัยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เป็นมุมมองในการวิเคราะห์ต่อระบบการเลือกตั้งของไทยในการวิเคราะห์ความพยายามเปลี่ยนผ่านจากการปกครองโดยคณะรักษาความสงบไปเป็นการปกครองในประชาธิปไตยโดยอาศัยรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นกลไกที่สำคัญพบว่า การเลือกตั้งเป็นกระบวนการหนึ่งในการปกครองไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการปกครองใดก็ตามย่อมเกิดขึ้นได้เป็นการสร้างความชอบธรรมของผู้ปกครองในการปกครอง แต่หากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยต้องแสดงเจตนารมณ์ของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่มีสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคของประชาชน และต้องประกอบไปด้วยหลักการพื้นฐานของการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยด้วย คำกล่าวที่ว่า “ประชาธิปไตยคือการเลือกตั้ง” จึงถูกเพียงแค่ส่วนเดียวเท่านั้น นอกจากนี้ การเลือกตั้งของไทยในระบบจัดสรรปันส่วนผสม หรือ Mixed Member Apportionment system- MMA ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 นั้นจะสามารถนำไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยได้น้อยเพียงใด ภายใต้บริบทของไทยที่กำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยแบบผู้แทนที่มีการเลือกตั้ง โดยระบบการเลือกตั้งของไทยแบบใหม่นี้ ถ้าหากระบบเลือกตั้งนี้สามารถสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนตามเจตนารมณ์ได้ ก็จะสามารถนำพาประเทศไทยไปสู่การเปลี่ยนผ่านไปสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้


Keywords


การเลือกตั้ง;ประชาธิปไตย;รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ISSN 2985-2757 (Print)

ISSN 2985-2765 (Online)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฟอร์มของวารสารฯ
     1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
     2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
     3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
     4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7    

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | Lampang Rajabhat University | 南邦皇家大學

- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ